อบต.เขาคันทรง ตรวจไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) อสม.ต.เขาคันทรง













อบต.เขาคันทรง ตรวจไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) อสม.ต.เขาคันทรง                                                                            เมื่อวันที่9 มิถุนายน 2566 เวลาประมาณ 10.00น.ที่ห้องประชุมชั้นที่2 อบต.เขาคันทรง นายมะลิ กลั่นด้วง นายกอบต.เขาคันทรง นายธงไชย สว่างอารมณ์ รองนายกอบต.เขาคันทรง นายเกรียงศักดิ์ พิมาพันธุ์ศรี ประธานสภาอบต.เขาคันทรง ได้กล่าวเปิดงาน การตรวจไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) ให้กับเจ้าหน้าที่ อสม. ในต.เขาคันทรง  โดยได้งบประมาณจากกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณะสุข  เนื่องจากไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) เป็นภาวะที่เกิดการอักเสบของเซลล์ตับ  ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ไวรัสตับอักเสบมีหลายสายพันธุ์ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสทั้งหมดมีการติดต่อแตกต่างกันไปตามชนิดและลักษณะเฉพาะ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตายหากปล่อยให้เรื้อรังจะเกิดพังผืดอาจทำให้เกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับได้ ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus) ติดต่อกันอย่างไร?

การติดเชื้อที่พบบ่อย คือการถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อสู่ทารก แต่ในปัจจุบันจดลดลงมาก เพราะการฉีดวัคซีนให้ทารกที่คลอดมาจะช่วยป้องกันได้เกือบร้อยละ 100 ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อถ้าติดจากมารดาและเกิดก่อน พ.ศ. 2535 ในวัยผู้ใหญ่ เช่น อาจมีการติดเชื้อจากสาเหตุอื่นๆ

มีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อโดยไม่ได้ป้องกัน ซึ่งไวรัสตับอักเสบบีสามารถติดต่อได้ง่ายกว่าเชื้อไวรัสเอดส์ การสัก เจาะหูหรือการฝังเข็มโดยอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง

การได้รับเลือด และส่วนประกอบของเลือดที่ไม่จำเป็น ก็อาจเป็นสาเหตุได้ แต่พบได้น้อยมากในการตรวจกรองของธนาคารเลือดในปัจจุบัน

หากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะมีอาการอย่างไรในกรณีตับอักเสบเฉียบพลันซึ่งพบในเด็กโต, ผู้ใหญ่ อาจมีอาการ  อ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้  อาเจียน  น้ำหนักลดจุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต ปัสสาวะเข้ม  ตาเหลือง อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นในเวลา 2 - 3 สัปดาห์ และร่างกายจะค่อยๆ กำจัดไวรัสตับอักเสบบีออกไปพร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีซ้ำอีก ผู้ป่วยร้อยละ 1 - 5 อาจโชคไม่ดีไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ เกิดการติดเชื้อเรื้อรังโดยเฉพาะหากได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการอักเสบร่วมด้วย  ซึ่งหากมีการอักเสบตลอดเวลาจะทำให้มีการตายของเซลล์ตับ เกิดมีพังผืดเพิ่มมากขึ้นจนเป็นตับแข็งในที่สุด ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งกลายเป็นมะเร็งตับซ้ำเดิม ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังมักไม่มีอาการแม้จะมีตับเสียหายมากและกรณีนี้จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อประเมินความรุนแรงของโรค

 

 

ไม่มีความคิดเห็น

รูปภาพธีมโดย Roofoo. ขับเคลื่อนโดย Blogger.