แบงค์ชาติอีสานเผย เศรษฐกิจ ไตรมาส 2 โควิด -19 ทำเศรษฐกิจหดตัว









แบงค์ชาติอีสานเผย เศรษฐกิจ ไตรมาส 2 โควิด -19 ทำเศรษฐกิจหดตัว

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 4 ส.ค. 2563 ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายประสาท สมจิตรนึก ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2563ท่ามกลางความสนใจจากนักวืชาการเงินและสถาบันการเงินร่วมรับฟังจำนวนมาก

นายประสาท สมจิตรนึก ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า เศรษฐกิจและการเงินไตรมาสที่ 2 นั้นหดตัวอย่างมากจากผลของมาตรการควบคุมการะบาดของโรคโควิด- 19 ที่เข้มงวด รวมถึงมาตรการทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายภาคส่วนหยุดชะงักชั่วคราว ก่อนจะคลายในช่วงปลายไตรมาส และจากการผ่อนคลายมาตรการดังกล่าวโดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนหดตัว ในทุกหมวดจากกำลังซื้อที่อ่อนแอและผลของมาตรการควบคุมการระบาดโรคโควิด-19 ด้านผลของภัยแล้ง การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนภาคเอกชนหดตัว อ่อนแอ แต่การใช้จ่ายภาครัฐกลับมายายตัวทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุน หลัง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 มีผลบังคับใช้

"ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบ จากอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานที่หดตัวสูง ตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ลดลงตามรคาตลาดโลก ประกอบกับค่ากระน้ำประปาที่ลดลงตามมาตรการบรรเทาค่าครองชีพ ด้านตลาดแรงงานยังเปราะบาง สะท้อนจากจำนวน ผู้ขอรับสิทธิปะโยชน์ทดแทนกรณีว่างานในระบบประกันสังคมที่เพิ่มขึ้นมาก สำหรับภาคการเงินเดือน พ.ค. 2563 ยอดเงินฝากคงค้างขยายตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน ทั้งธนาคารพาณิชและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จากเงินเยียวยาภาครัฐ ด้านสินเชื่อคงค้างขยายตัวเล็กน้อย จากสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง และมาตรการพักชำระหนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงโควิด-19 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ"

นายประสาท กล่าวต่ออีกว่า ถ้าดูตัวเลขทั้งไตรมาสที่ 2จะเห็นว่าเศรษฐกิจหดตัว มีผลกระทบมาก เพราะเป็นช่วงโควิค-19 และช่วงล็อคดาว แต่เมื่อการล็อคดาวผ่อนคลาย ก็เริ่มดีมากขึ้น แต่ถ้าเฉลี่ยทั้งไตรมาสก็หดตัวอย่างต่อเนื่อง คือกระทบมากที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องของภาคการผลิต ที่พัก และเรื่องอาหาร การบันเทิง ส่วนเรื่องอื่นๆเฉลี่ยกันไป และในเรื่องของการท่องเที่ยวนั้นภาคอีสานกระทบน้อยกว่าภาคอื่นๆ สำหรับการช่วยเหลือที่คาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นก็คือ งบประมาณจากภาครัฐ รวมถึงการเยียวยาก็เป็นตัวจักรสำคัญที่ช่วยให้การหดตัวคลายตัวได้มาก ทำให้เศรษฐกิจน่าจะเดินไปข้างหน้าได้ รวมถึงด้านการเกษตร และด้านภัยแล้ง เพราะตัวแรงงานที่เดินทางพื้นที่ ก็กลับมาพัฒนาทางด้านการเกษตรได้ดีพอสมควร

“ในเรื่องของที่พัก หรือที่พักแรมจะช่วยการท่องเที่ยวได้มาก ฉะนั้นจะทำยังงัยจะให้การท่องเที่ยวกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเข้ามา งานด้านการบริการจะสามารถเข้ามาช่วยได้ ส่วนเรื่องค้าส่งค้าปลีกก็จะช่วยได้มาก อย่างไรก็ดีการระบาดของโควิด-19 ต้องเลิกกิจกรรมลงไปทุกอย่าง และโควิคในต่างประเทศยังคงมีอยู่ การค้าโลกก็หดตัวด้วย แต่สิ่งที่คนไทยควรจะมีกันคือต้องรักษามาตรฐานให้ได้ ไม่ให้โควิดกลับมาได้อีก ซึ่งทุกอย่างจะดีได้ต้องมีการร่วมมือกันของทุกๆฝ่าย เมื่อเศรษฐกิจดี ทุกอย่างก็จะดีตามมาเป็นปกติได้"

ไม่มีความคิดเห็น

รูปภาพธีมโดย Roofoo. ขับเคลื่อนโดย Blogger.