วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2567

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์วางพวงมาลา เนื่องในวันที่ระลึกทหารผ่านศึกเกาหลี ณ อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเกาหลี ค่ายนวมินทราชินี กรมทหารราบที่ 21







 

   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา  องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์วางพวงมาลา เนื่องในวันที่ระลึกทหารผ่านศึกเกาหลี ณ อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเกาหลี ค่ายนวมินทราชินี กรมทหารราบที่ 21                                            วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา  องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์วางพวงมาลาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เนื่องในวันที่ระลึกทหารผ่านศึกเกาหลี ณ อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเกาหลี ค่ายนวมินทราชินี กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ในการนี้ นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วยนายเอกราช สมัครไทย ผู้พิพากษาศาลจังหวัดชลบุรี พล.ต.ศิรช์ณรงค์ หลวงเทพนิมิตผบ. มทบ.14 พ.ต.อ.ไพฑูรย์ พิทักษ์ธรรมรอง ผบก.ภ.จว.ชลบุรี นางสาวประภัสรา ศรีทอง นายกเหล่ากาชาดจังหวัดชลบุรี พ.อ.พิเชียรรัฐ ภารัญนิตย์  ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ เฝ้ารับเสด็จด้วย   จากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ องค์การสหประชาชาติ ได้ร้องขอประเทศสมาชิกไปร่วมรบเพื่อผลัดดันกองกำลังเกาหลีเหนือ รัฐบาลไทยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะเป็นสมาชิกขององค์การ สหประชาชาติโดยการนำของ ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้ตอบรับคำร้องขอขององค์การสหประชาชาติเป็นประเทศแรก และตกลงใจส่งทหารภาคพื้นดิน 1 กรมผสม คือ กรมผสมที่21 ไปร่วมรบกับกองกำลังสหประชาชาติโดยเดินทางออกจากประเทศไทย ด้วยเรือของทัพเรือ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2493 และไปปฏิบัติการรบจนได้ชัยชนะในที่สุด ต่อมากรมผสมที่ 21 ในสมัยนั้น ได้แปรสภาพมาเป็น กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ฯ ในปัจจุบัน

      ดังนั้น จึงได้ยึดถือว่าวันที่ 22 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันที่ระลึกสงครามเกาหลีของประเทศไทย ระหว่างปฏิบัติราชการสนาม ณ สมรภูมิเกาหลี ทหารไทยได้สร้างวีรกรรมไว้หลายครั้ง อาทิเช่น วีรกรรมที่สมรภูมิฟอร์คชอพ ซึ่งเป็นภูมิประเทศสำคัญที่คู่สงครามต้องการยึดให้ได้ ฝ่ายตรงข้ามได้เข้าตีที่มั่นของฝ่ายเราถึง 5 ครั้ง แต่ทหารไทยได้ทำการรบอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เป็นผลให้ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถยึดที่มั่นของฝ่ายเราได้ อีกทั้งต้องสูญเสียอย่างหนัก ในขณะที่ฝ่ายเราเสียชีวิตและบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นวีรกรรมอันกล้าหาญและเด็ดเดี่ยวของทหารไทย ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของชาวโลก   สำหรับการรบในสมรภูมิเกาหลี ทหารไทยผู้กล้าหาญทั้งหลายได้เสียชีวิตนับตั้งแต่เริ่มเข้าทำการรบ จนถึงวาระสุดท้ายที่มีการสงบศึกมีจำนวนทั้งสิ้น 136 นาย เป็นทหารบก 130 นายทหารเรือ 4 นาย และทหารอากาศ 2 นาย ในการนี้รัฐบาลไทยโดยกองทัพบก ได้สร้างอนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกสงครามเกาหลีขึ้น ณ ค่ายนวมินทราชินี เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของทหารไทยในสงครามเกาหลี ซึ่งได้เสียสละชีวิตและเลือดเนื้อทำการต่อสู่อย่างสมเกียรติ เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติสุขและเสรีภาพของประชาชนชาวโลกสืบต่อไป***เครดิตภาพ/สำนักพุทธศาสนาจังหวัดชลบุรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น