ก้าวหน้าสู่ปีที่ 3 Gulf MTP / ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ร่วมกับ กลุ่มประมงพื้นบ้าน ฟื้นฟูป่าชายเลน ( ด้วยนวัตกรรมจุลินทรีย์ชีวภาพ ) ประสบผลสำเร็จสูง อัตรารอดกว่า 90 % เติบโตแข็งแรงอย่างมาก
ก้าวหน้าสู่ปีที่ 3 Gulf MTP / ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ร่วมกับ
กลุ่มประมงพื้นบ้าน ฟื้นฟูป่าชายเลน ( ด้วยนวัตกรรมจุลินทรีย์ชีวภาพ )
ประสบผลสำเร็จสูง อัตรารอดกว่า 90 % เติบโตแข็งแรงอย่างมาก
ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า โครงการฟื้นฟูป่าชายเลน
จังหวัดระยอง ของ บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (Gulf
MTP) โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด
ระยะที่ 3 ( ประกอบด้วย สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร ) บริษัท
อิตาเลี่ยนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน)(ITD) และ บริษัท PMSC ) ร่วมกับ
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา
เทศบาลตำบลเนินพระ อ.เมืองระยอง
จังหวัดระยอง ซึ่งโครงการฯมีนโยบาย
การอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตชาวประมงพื้นบ้านระยอง
ให้ความสำคัญแก่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองระยอง คือ
ผืนป่าชายเลนบริเวณเทศบาลตำบลเนินพระ ฯ
ซึ่งมีความเสื่อมโทรมและบริเวณโดยรอบล้มหายตายไปจำนวนมาก จึงได้จัดโครงการในการปลูกป่าเพิ่มเติมและฟื้นฟูป่าชายเลนที่เสื่อมโทรม
ดังกล่าวขึ้น เริ่มต้นในปี 2565 สำหรับโครงการนี้
ไม่ได้เพียงแต่นำต้นกล้าไปปลูกเท่านั้นแล้วปล่อยตามธรรมชาติเท่านั้น โครงการฯ / บริษัท Gulf MTP โดย
ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน และ นายศุภฤกษ์ โสภณราพงษ์ ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ ฯ ส่งเสริมความร่วมมือกับ “
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา “ นำโดย นายลำเพย แว่วเสียง
ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา
และ เทศบาลตำบลเนินพระ ฯ นำโดย นายบุญธรรม ใยกล้า นายกเทศมนตรี ฯ โดยฐานแนวคิด กระบวนการทำงานบนองค์ความรู้เกี่ยวกับ “ นวัตกรรมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective
Microorganism)” การจัดการด้านฐานเศรษฐกิจชีวภาพ
(Bio-Based Economy ) และ แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ( Circular
Economy) และ
สร้างกลไกการทำงานร่วมมือกับชุมชนและองค์กรท้องถิ่น ในการดำเนินงานต่อเนื่อง
เริ่มดำเนินงาน ปี 2565
โดยจัดอบรมให้ความรู้ ด้าน “ นวัตกรรมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ”
แก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา และ จัดตั้ง “
ศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ “
หลังจากนั้นส่งเสริมชุมชนได้นำเศษปลาก้างปลามาผลิตเป็น ฮอล์โมนและ
ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยหมัก และ จุลินทรีย์ก้อน (EM Ball ) ผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ใช้สามารถในการเกษตร ปศุสัตว์ และครัวเรือน ฯลฯ สิ่งสำคัญ คือ การผลิต
ออล์โมนพืช ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยหมัก และ
จุลินทรีย์ก้อน (EM Ball ) ใช้ในการปรับสภาพน้ำ สภาพดิน
และใช้เสริมธาตุอาหารต้นกล้าที่ปลูกใหม่ บริเวณแปลงปลูกป่าชายเลนที่เสื่อมโทรม
ที่โครงการจะพื้นฟู จำนวน 3 จำนวน 3 แปลง
โดย แปลงที่ 1 ปลูกต้นกล้า เพิ่ม ประมาณ
1,000 ต้น (ปี 2565) โดยใช้จุลินทรียฯ
ในการปรับสภาพพื้นที่ น้ำ และ ดิน ก่อนประมาณ 1 เดือน และ นำพนักงาน ชาวประมง
เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลเนินพระฯ ร่วมกันปลูกป่าชายเลน และ
จัดบทบาทหน้าที่ให้กลุ่มประมงพื้นบ้านหาดสุชาดาติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง
ร่วมกับนักส่งเสริมจากบริษัท Gulf MTP ติดตามและใส่ปุ๋ย
โยนจุลินทรีย์ก้อน/อีเอ็มบอล เป็นระยะๆ ทุก 3 - 4 เดือน / ปี เริ่มต้นปลูกจากต้นกล้าสูงประมาณ 20 – 35 หลังจากผ่านไป 1 ปี พบว่า มีอัตรการรอดสูงมาก
กว่า 80-90 % มีอัตราเติบโตใบเขียว รากหงอกแข็งแรง
สูงเฉลี่ย 80-120 เซ็นติเมตร เติบโตเร็วพอสมควรเลยทีเดียว ต่อมาในปีที่ 2 -3 ปลูกเพิ่มอีกกว่า 2,000 ต้น
รวมกว่า 3,000 ต้น
ล่าสุด การติดตามผลปีที่ 3 (ปี
2567) พบว่า ต้นกล้าที่ปลูก อัตราการรอด
กว่า 90 % เติบโตแข็งแรงสูงท่วมหัวแล้ว
สูงกว่า 150-200 เซ็นติเมตรเลย มีการแตกแขนงรากที่แข็งแรงแทงลงสู่ดิน
กิ่งก้านใบสมบูรณ์ ปัจจัยส่วนหนึ่งอันเป็นผลจากการใช้จุลินทรีย์ /ปุ๋ย
ช่วยปรับสภาพน้ำความอุดมสมบูรณ์ของดิน การมีปุ๋ยเสริมการเติบโตมีธาตุอาหารมากกว่า
การปลูกแล้วปล่อยตามธรรมชาติ และ สำคัญอีกกลไก คือ มีชุมชนที่ทำหน้าที่ ติดตามดูแล
คอยตัดหญ้าเป็นช่วงๆ ไม่ปล่อยให้หญ้าสูงเกินต้นกล้าที่ปลูกเพราะมันจะแย่งอาหาร
รวมทั้งกำจัดเถาวัลย์เปรียงซึ่งเป็นศัตรูพืชป่าชายเลนที่สำคัญตัวหนึ่ง
มันจะมามารัดต้นกล้าและดูดกินอาหารจากต้อนกล้าให้ตายลงไป สิ่งเหล่านี้ประกอบกัน
โครงการนี้จึงมีอัตราการตายน้อยและภาวะการเติบโตมากเป็นพิเศษหากเทียบกับการปลูกแล้วปล่อยตามธรรมชาติ
หรือไม่มีการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องจนต้นกล้าโตเพียงพอยินต้นต่อไป
ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ติดตามด้วย เป็นอีกหนึ่งโครงการฯ ที่น่าสนใจมาก
ในกลไกการทำงานและฐานความรู้ที่นำมาใช้ โดยการส่งเสริมจาก บริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี
แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (Gulf MTP)
โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่
3 กลไกความร่วมมือกับ กลุ่มประมงพื้นบ้าน และเทศบาลตำบลเนินพระฯ ดำเนินการมา
เข้าปี ที่ 3
ก่อเกิดเป็นผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมในการฟื้นฟูป่าชายเลนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่างจากที่เคยคือการปลูกแล้วปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติ และผลที่เกิดขึ้น
น่าจะก่อเกิดการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่สีเขียว แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
ที่เคยอุดมสมบูรณ์ของเมืองระยองให้คงอยู่สมบูรณ์ขึ้นได้ต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อีกหนึ่งโมเดลที่น่าทึ่งในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมป่าชายเลน และระยะยาวยังมีกลไกภาคท้องถิ่นและชุมชนในการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องต่อไป
ตามแนวทางการพัฒนาที่ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนา (Community Based development
) และยังสร้างให้ชุมชนชาวประมงมีอาชีพเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างรายได้แก่ชุมชนด้วยจนถึงปัจจุบัน
เป็นตัวอย่างที่ดีของ CSR ภาคธุรกิจที่นำความรู้และกระบวนการจัดการร่วมกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จะเป็นพื้นฐานแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนต่อไป (Sustainable
development )
ไม่มีความคิดเห็น