ปิดศูนย์ปฎิบัติการขจัดครามน้ำมัน หลังขจัดคราบน้ำมันได้ 100% ด้านผู้บริหารไทยออยล์ ขอโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมรับผิดชอบทั้งหมด หลังจากนี้เร่งฟื้นฟูและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ













ปิดศูนย์ปฎิบัติการขจัดครามน้ำมัน หลังขจัดคราบน้ำมันได้ 100% ด้านผู้บริหารไทยออยล์ ขอโทษกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมรับผิดชอบทั้งหมด หลังจากนี้เร่งฟื้นฟูและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ 

จากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือน้ำลึกแบบทุ่นเดี่ยวกลางทะเลหรือจุดขนถ่ายน้ำมันในทะเล ทุ่น SBM 2 ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เกิดเหตุท่อน้ำมันรั่วไหล ระหว่างทำการขนถ่ายสินค้ากลางทะเล  ทร. ได้เปิดศูนย์การปฏิบัติงานควบคุมการปฏิบัติการในการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันของ ทร.

ในพื้นที่รับผิดชอบของ ทรภ. (ศคปน.ทรภ.1 ) พร้อมสนธิกำลังจากทุกภาคส่วน  ตั้งแต่ หลังปฎิบัติการแล้วจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ ตั้งแต่เกิดเหตุเมื่อเวลา 21 .00 น. ของถวันที่ 3 ก.ย. จนถึงวันนี้ 7 ก.ย. จึงขอยุติศูนย์ดังกล่าวพลเรือตรี พาสุกรี วิลัยรักษ์   รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ กล่าวว่า จากการดำเนินการดังกล่าว ทุกหน่วยงานได้ดำเนินการตามหน้าที่ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สถานการณ์ปัจจุบันตรวจ   ไม่พบคราบน้ำมัน ทั้งในทะเลและชายฝั่ง รวมถึง ใต้น้ำบริเวณปะการัง ที่เป็นจุดอ่อนไหว จึงได้จัดประชุมเตรียมการในการยุติการควบคุมการปฏิบัติของ ศคปน.ทรภ.1 รวมทั้ง การประชุมแถลงความตั้งใจในการปฏิบัติของหน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เมื่อยุติการดำเนินการของ ศคปน.ทรภ.1 เพื่อให้ กรมเจ้าท่า ซึ่งทำหน้าที่เป็น ศูนย์ประสานงาน ตามแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำ  เนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ และบริษัทฯ รวมทั้ง หน่วยที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการในการติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวัง และฟื้นฟู กรณีมีผู้ได้รับผลกระทบให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยต่อไป  จึงขอยุติ การปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการปฏิบัติในการขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันของ ทร. ในพื้นที่รับผิดชอบ ของ ทัพเรือภาคที่ 1(ศคปน.ทรภ.1 ) เพื่อส่งมอบการดำเนินการให้ ศูนย์ประสานงาน และหน่วยที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

นายบัณฑิต  ธรรมประจำจิต  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า คณะผู้บริหารกลุ่มไทยออยล์ รวมทั้งพนักงานไทยออยล์ทุกคน รู้สึกเสียใจและต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่ง กับเหตุการณน์น้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทุนผูกเรือกลางทะเล(SBM-2)

ทันที ที่เกิดเหตุการณด์ดังกล่าว บริษัทฯ ได้ทุ่มสรรพกำลังและทรัพยากร พร้อมประสานขอความร่วมมือกับทุก ภาคส่วน ในการแก้ไขสถานการณ์ ป้องกัน และบรรเทาผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม จนทำให้ สถานการณก์ลับมาอยู่ภายใต้การควบคุมและคลี่คลายลงอย่างรวดเร็ว  ซึ่งความสาเร็จดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากบริษัทฯ ไม่ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน  ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ทัพเรือภาคที่ 1 กรมเจ้าท่า กรมควบคุม มลพิษ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง งานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี กองบังคับการตารวจน้ำ ท่าเรือแหลมฉบัง ภาคีเครือข่ายจากสมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกล่มุ อุตสาหกรรมน้ำมัน หรือ IESG รวมถึงสื่อสารมวลชนที่ช่วยเผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้องให้สาธารณชนได้ รับทราบ

สำหรับสาเหตุที่เกิดเหตการณ์ดังกล่าว บริษัทฯ อยู่ระหว่างการตรวจสอบในรายละเอียดและร่วมมือกับ ทีมผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพี่อให้ข้อมูลเจนและถูกต้อง บริษัทฯ จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ของภาครฐั อย่างเต็มที่ในการติดตามตรวจสอบและดาเนินการต่างๆ เพี่อให้สภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเลจะไม่ได้รับผลกระทบจากเหตกุารณ์กล่าว

ด้านนายนริศ  นิรามัยวงศ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี  ตามที่ทัพเรือภาคที่ 1 ได้จัดตั้งศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน เพื่อปฏิบัติงานขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันรั่วไหล บริเวณทุ่น SBM 2  ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ณ บริเวณทะเลอ่าวไทย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี  จังหวัดชลบุรี เข้าร่วมดำเนินการในฐานะหน่วยปฏิบัติการตามแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำ

เนื่องจากน้ำมันแห่งชาติ โดยได้บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ ติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์คราบน้ำมันเข้าสู่พื้นที่ชายฝั่ง ดำเนินการตรวจตราในพื้นที่ 1.อำเภอเกาะสีชัง บริเวณท่าเทียบเรือแหลมงู ท่าเทียบเรือล่าง หาดท่ายายทิม หาดท่าวัง เกาะขามใหญ่ เกาะค้างคาว 2.อำเภอเมืองชลบุรี บริเวณหาดบางแสน หาดวอนนภา อ่างศิลา 3.อำเภอศรีราชา บริเวณชายหาดบางพระ หาดกัปตันยุทธ ท่าเทียบเรือเกาะลอย ท่าเทียบเรือจรินท์ ปรากฏว่าไม่พบคราบน้ำมัน แนวทางปฏิบัติในการให้ความช่วยเหลือประชาชนเพื่อการฟื้นฟูในระยะต่อไป ดังนี้

1. ด้านสาธารณสุข ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี ศูนย์อนามัยที่ 6 ชลบุรี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 ชลบุรี เฝ้าระวังความเสี่ยงและผลกระทบทางสุขภาพ โดยเก็บตัวอย่างสัตว์ทะเล จากชาวประมง ชาวบ้าน ที่นำมาขายหรือตลาดอาหารทะเลที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อตรวจหาสารปนเปื้อน

2. ด้านการประมง ให้สำนักงานประมงจังหวัดชลบุรี สำรวจ ตรวจสอบความเสียหาย ผลกระทบ จากกลุ่มประมงต่าง ๆ และส่งเสริม ฟื้นฟูการประกอบอาชีพ ให้ความช่วยเหลือตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชลบุรี สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี) สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินมลพิษ และผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากคราบน้ำมัน รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟู และรักษาสิ่งแวดล้อม ให้มีความสมดุลเหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต และการใช้ชีวิตของประชาชน

4. ด้านการท่องเที่ยว ให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชลบุรี สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ สร้างความเชื่อมั่น ให้แก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ

5. การรับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ กรณีมีประชาชนได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ รวบรวมเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ และจัดส่งรายละเอียดข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี เพื่อประสานบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือต่อไป

ขณะที่นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า ด้านปลอดภัย เผยว่า หลังจากที่มีการปิดศูนย์ ผู้บังคับบัญชาการศูนย์ปฏิบัติการได้ส่งมอบหน้าที่มายังกรมเจ้าท่า ในฐานะที่เป็นผู้บัญชาการศูนย์ประสานงานต่อไป เรื่องของการดำเนินการในส่วนของการรับฟังและการประสานงาน หากมีกรณีที่มีการร้องเรียน หรือว่าผู้รับผลกระทบก็จะเป็นเรื่องที่จังหวัด จะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในส่วนนี้  



ด้านกรมเจ้าท่าก็จะเป็นหน่วยที่ประสานจัดการเพื่อติดต่อกับไทยออยล์  และในส่วนระยะต่อไปของการฟื้นฟูจะเป็นเรื่องของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจะเป็นหน่วยงานหลักในการที่จะทำแผนงาน โครงการ หรือว่าในการตรวจสอบ ผลกระทบที่เกิดขึ้น จากเหตุน้ำมันที่รั่วไหลครั้งนี้ ว่ามีอะไรบ้าง ทั้งนี้ ต้องขอบคุณทางไทยออยล์ที่ได้แสด

 

ไม่มีความคิดเห็น

รูปภาพธีมโดย Roofoo. ขับเคลื่อนโดย Blogger.