นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่ฯ เผยตัวเลขส่งออกเนื้อไก่ไทยปี66 ยังทะลุหลักแสนตัน สร้างเงินตราเข้าประเทศหลักแสนล้านบาทจากความมั่นใจคู่ค้่าสวนทางต้นทุนผลิตสูงต่อเนื่อง วอนรัฐหาทางเจรจาร่วม 3 ฝ่ายทั้งผู้ปลูกพืชไร่ ผู้ประกอบการและรัฐบาล แก้ปัญหาต้นทุน
นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่ฯ เผยตัวเลขส่งออกเนื้อไก่ไทยปี66 ยังทะลุหลักแสนตัน สร้างเงินตราเข้าประเทศหลักแสนล้านบาทจากความมั่นใจคู่ค้่าสวนทางต้นทุนผลิตสูงต่อเนื่อง วอนรัฐหาทางเจรจาร่วม 3 ฝ่ายทั้งผู้ปลูกพืชไร่ ผู้ประกอบการและรัฐบาล แก้ปัญหาต้นทุน
วันนี้ ( 20 ธ.ค.) ดร.ฉวีวรรณ นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานกรรมการบริหาร บริษัทในเครือฉวีวรรณ ผู้ส่งออกเนื้อไก่ไทยรายใหญ่ของไทย ได้เปิดเผยถึง สถานการณ์การส่งออกเนื้อไก่ไทยในปี 2566 ว่ายังคงดีต่อเนื่องแม้ก่อนหน้านี้จะมีความกังวลว่าการส่งออกเนื้อไก่ไทยอาจสะดุดในช่วงปลายปีจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก และปัญหาการสู้รบในหลายประเทศที่อาจส่งผลต่อราคาน้ำมันซ6่งถือเป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญ แต่สุดท้ายกลับปรากฏว่ายิ่งใกล้ถึงวันคริสต์มาสยอดคำสั่งซื้อเนื้อไก่จากต่างประเทศกลับสูงขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะความต้องการเนื้อไก่ดิบที่เพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนมากถึง 15 เปอร์เซ็นต์ แต่ความต้องการเนื้อไก่ปรุงสุกกลับมีคำสั่งซื้อไม่มากเหมือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการส่งออกเนื้อไก่ดิบที่สูงขึ้นก็สามารถดันให้ตัวเลขการส่งออกเนื้อไก่ไทยในภาพรวมเติบโตขึ้นจากปีก่อน15 เปอร์เซ็นต์เช่นกัน และยังทำให้ตัวเลขส่งออกเนื้อไก่ไทยปี66 ยังทะลุหลักแสนตัน สร้างเงินตราเข้าประเทศหลักแสนล้านบาท
ทั้งนี้อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้การส่งออกเนื้อไก่ไทยเติบโตขึ้นมาจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงถึงประมาณ 36 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ทำให้ผู้ส่งออกมีรายได้เพิ่มขึ้นจากความมั่นใจของคู่ค่าในต่างประเทศที่เชื่อว่าจะทำให้ได้สินค้ามากขึ้น
"การส่งออกในปีนี้ถือว่ายังดีเพราะเรายังคงส่งเนื้อไก่ดิบและเนื้อไก่แปรรูปได้ทะลุหลักแสนตัน และคาดว่าในปีหน้าหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ที่ประเทศมาเลเซียและสหภาพยุโรป รวมทั้งญี่ปุ่น ยังคงมีความต้องการเนื้อไก่จากไทยเป็นจำนวนมากเราก็จะไปได้ดี แม้ตลาดในประเทศจีนจะไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เพราะจีนหันไปสั่งซื้อเนื้อไก่จากสหรัฐอเมริกา อีกทั้งการแย่งชิงตลาดส่งออกไปยังประเทศจีนที่รุนแรงขึ้นจนประเทศไทยสู้ไม่ได้ ซึ่งในปี 2567 ยังคงต้องจับตาว่าประเทศจีนจะประหยัดค่าใช้จ่ายอีกมากน้อยเพียงใด"
ส่วนแผนกระตุ้นตลาดส่งออกในปี 67 นั้น นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยมั่นใจว่าผู้ผลิตเพื่อการส่งออกของไทยมีขีดความสามารถในการหาตลาดใหม่ ซึ่งรัฐบาลเองก็ได้ให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการในการเชิญเข้าหารือเพื่อรับทราบถึงสถานการณ์การส่งออกในปีหน้า ทั้งในส่วนของผู้ผลิตอาหารสัตว์ ผู้ปลูกพืชไร่และผู้ที่อยู่ในภาคเกษตรปศุสัตว์
โดยผู้ผลิตอาหารสัตว์ก็อยากขายสินค้าได้ในราคาที่สูงขึ้น ส่วนคนเลี้ยงสัตว์ก็อยากได้อาหารในราคาที่ถูกลง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาทางออกร่วมกันเพื่อให้ทุกส่วนสามารถอยู่รอดได้" ตลาดรับซื้อในต่างประเทศมีความเข้มงวดในเรื่องความปลอดภัยของอาหารสูงมาก โดยเฉพาะสินค้าแปรรูปที่จะต้องเป็นที่พอใจของผู้บริโภคที่มีความจำเป็นต้องใช้แรงงานฝีมือ ซึ่งทั้งหมดนี้โรงงานผู้ผลิตเพื่อการส่งออกจึงพยายามที่จะปรับปรุงตัวเองให้ได้ต้นทุนการผลิตที่ถูกลง แต่ได้สินค้าที่มีคุณภาพเป็นที่พอใจของลูกค้าทั้งเรื่องรสชาติและความปลอดภั แต่จุดสำคัญที่สุดคือเรื่องต้นทุนการผลิต เพราะคู่ค้าในต่างประเทศก็ยังคงต่อราคาสินค้าจากไทย"
ดร.ฉวีวรรณ ยังบอกอีกว่าหลังจากนี้ ภาครัฐ ผู้เพาะปลูกพืชไร่และผู้ผลิตเพื่อการส่งออกทั้ง 3 ส่วนจำเป็นต้องมีการพูดคุยเพื่อหาทางออกให้ได้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถลดต้นทุนการผลิตทั้งในเรื่องการเพาะปลูกและต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ที่มีผลต่อการผลิตเนื้อสัตว์เพื่อการส่งออกให้ได้ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า โดยเรื่องของการประกันราคาการนำเข้าธัญพืช
ส่วนปัญหาการลักลอบนำเนื้อสัตว์จากต่างประเทศเข้ามาขายตัดราคาผู้ค้าในประเทศไทยนั้น ดร.ฉวีวรรณเผยว่าในส่วนของเนื้อไก่ก็มีเรื่องดังกล่าวเช่นกันโดยเห็นได้จากข่าวสารที่นำเสนอผ่านสื่อต่างๆ แต่เนื่องจากปัจจุบันการผลิตเนื้อไก่ของไทยยังสามารถส่งขายในต่างประเทศได้ จึงทำให้ไม่มีผลกระทบด้านราคา
วันนี้จึงมองว่าประโยชน์ได้ตกเป็นของผู้บริโภคในไทยที่จะได้บริโภคเนื้อไก่ในราคาที่ถูก แต่รัฐบาลจะต้องเข้มงวดกวดขันเรื่องความสะอาด และความปลอดภัยด้านอาหารเป็นสำคัญ
ไม่มีความคิดเห็น